การออกแบบอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวของภาครัฐ
Design of Piboon Songkram Rajabhat University (PSRU) Rector Office According to Government Standard Green Building

Main Article Content

จตุรยุทธ ด้วงสงกา1 วรนุช พรเสนาะ2

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดหลักการออกแบบมาใช้ในการออกแบบอาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 2) เพื่อออกแบบอาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการออกแบบอาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถาปัตยกรรม เจ้าหน้าที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการออกแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
      1. หลักการออกแบบประกอบด้วย ข้อมูลทางกายภาพพื้นที่โครงการ เกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวของภาครัฐ และเทคนิคต่างๆที่สามารถนำวิธีการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวของภาครัฐ
      2. แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมมีรูปทรงอาคารโค้งให้มีความสอดคล้องกับ landscape โดยมีการเน้นการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงาน และได้นำเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมาใช้ในการออกแบบจุดเด่นของอาคาร
      3. ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการออกแบบอาคารสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวของภาครัฐ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน 5 ข้อ คือ ข้อ 2 ออกแบบพื้นที่อาคารสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ข้อ 5 เลือกใช้ระบบโครงสร้างที่แข็งแรง มั่นคงและทันสมัย ข้อ 6 ลักษณะอาคารสามารถรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ข้อ 7 ประสิทธิภาพของอาคาร และข้อ 10 แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม (ค่าเฉลี่ย 4.80) รองลงมาคือ ข้อ 3 ระบบอาคารออกแบบได้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.และกฎกระทรวงกำหนด ข้อ 4 การออกแบบอาคารช่วยประหยัดพลังงานตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวภาครัฐ และข้อ 8 ความเหมาะสมทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.60) และรองลงมาคือ ข้อ 1 รูปแบบสถาปัตยกรรมที่สะท้อนเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ค่าเฉลี่ย 4.40)

Abstract
     This research aimed to 1) study and analyze the idea for designing Piboon Songkram Rajabhat University (PSRU) Rector Office according to Government Standard Green Building, 2) to study the opinion of experts on the design of Piboon Songkram Rajabhat University (PSRU) Rector Office according to Government Standard Green Building. 3) to study the opinions of experts on Design of the Office of the President of Pibulsongkram Rajabhat University The samples were staff of Piboon Songkram Rajabhat University (PSRU) Rector Office Officers. Data providers include Expert in architecture The staff of the Office of the President of Pibulsongkram Rajabhat University (PSRU). The research instruments consisted of the Office of the President of Pibulsongkram Rajabhat University (PSRU) and questionnaires. Data were analyzed using statistics, means and standard deviation.
          The research found that 1) the design of building should be composed of physical information of the building area, standard criteria for designing according to government standard green building, and techniques of designing, 2) the idea for designing using curved building related to the landscape, and the principle for saving energy including the identity of Piboon Songkram Rajabhat University to design the rector building were used, 3) The opinions of experts on the design of the Office of the President of Pibulsongkram Rajabhat University according to the Green Building Standards of the government. In overall, it was at the highest level. When considered individually, it was found that With the highest mean value of 5 items, which are number 2, design of building area that can be used actually, item 5, choose to use strong structural systems Stable and modern, item 6, the building characteristics can support the changing technology, item 7, the efficiency of the building and item 10, the concept of architectural design (mean 4.80), followed by item 3, the building system can be designed correctly according to The Act and the Ministerial Regulations stipulate Article 4, design of buildings to help save energy in accordance with the criteria of the government green building standards and Article 8, physical suitability (average 4.60) and followed by item 1, architectural styles that reflect the identity of Pibulsongkram Rajabhat University (Mean 4.40)  

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
 
[1]  ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์. (2550). การออกแบบอาคาร และสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อการประหยัดพลังงาน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, วิทยาเขตสกลนคร
[2]  ดลยา ศิริปรุ. (2548). แนวทางการออกแบบปรับปรุงอาคารสำนักงานของรัฐเพื่อการประหยัดพลังงาน จังหวัดนครราชสีมา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
[3]  พรจิต พีระพัฒนกุล. (2548). การควบคุมสภาวะแวดล้อมในอาคาร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย, กรุงเทพมหานคร.
[4]  รองศาสตราจารย์พาสินี สุนากร. (2558). พืชพรรณประกอบอาคาร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
[5]  รศ.ศศิยา ศิริพานิช. (2554). ภูมิทัศน์พื้นฐาน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
[6]  ______________. (2554). คู่มือเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่). กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ, กรุงเทพมหานคร.