การพัฒนาระบบตรวจจับภาพบุคคลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์ แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์
DEVELOPMENT OF PIR (PASSIVE INFRARED) SENSOR DEVICE VIA LINE

Main Article Content

นายเมธา มาลาลักษณ์, สุภัทรชัย บุญช่วยสุข,พล งอกอ่อน, พวงมาลัย จันทรเสนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบตรวจจับภาพบุคคลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์ แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์ และ 2) หาประสิทธิภาพระบบ
โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบตรวจจับภาพบุคคลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันสนทนาออนไลน์ และ
แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบตรวจจับภาพบุคคลด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำระบบที่พัฒนาขึ้นติดตั้ง และทดสอบ
การทำงานเพื่อตรวจจับภาพบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน
5 ท่าน ประเมินประสิทธิภาพของระบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย
ผลการวิจัย พบว่า ระบบตรวจจับภาพบุคคลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์ แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชั่นสนทนาออนไลน์ สามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ในระบบสูงสุด 5 เมตร ระบบมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (  = 4.15) 


 
          The purposes of the study were to 1) develop the PIR sensor device via Line application and 2) find the efficiency of device by 5 specialists. The research tools were PIR sensor device via Line application and efficiency assessment. Data were analyzed by mean and standard deviation.
          The results found that PIR sensor device via Line application can scan people motion at the speed of 5 meters. It showed that it could work effectively which meant in the “much” level (mean=4.15).

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
[1] ชยพล การนา ชวลิตร หนูเกื้อ ณัฐนนท์ มณีพิสุทธิพันธ์. (2561). การพัฒนาชุดควบคุมหลอดไฟอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน.
[2] กนกภรณ์ อุดมเดช. (2560). เครื่องเขย่ายาสมุนไพรโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์อาร์ดุยโน่.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] ชยพล การนา ชวลิตร หนูเกื้อ ณัฐนนท์ มณีพิสุทธิพันธ์. (2561). การพัฒนาชุดควบคุมหลอดไฟอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน.
[4] ปัทมาวดี เปรมกาศ. (2561). กล้องวงจรปิดเพื่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ในเมืองพิษณุโลก. ภาควิชาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.
[5] พันทิวา สุวรรณไตรย์ อัจฉราพร พรหมพันธุ์ใจ และจักรินทร์ ศรีแนน. (2549). เครื่องดักจับความเคลื่อนไหว. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.