การพัฒนาระบบติดตามตาแหน่งรถนำสารด้วยระบบจีพีเอส ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
THE DEVELOPMENT OF MESSAGE CARRIER TRACKING SYSTEMS WITH GPS VIA MOBILE NETWORK

Main Article Content

เจตริน ประเสริฐกุล, นัฐกานต์ บุญร่วม, พล งอกอ่อน, พวงมาลัย จันทรเสนา

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามตำแหน่งรถนำสาร ผ่านเครือข่ายจีพีเอส 2) หาประสิทธิภาพของระบบติดตามตำแหน่งรถนำสารผ่านเครือข่ายจีพีเอส และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบติดตามตำแหน่งรถนำสาร ผ่านเครือข่ายจีพีเอส กลุ่มเป้าหมายในการทดลอง ได้แก่ นายทหารชั้นประทวนซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบ จำนวน 10 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบติดตามตำแหน่งรถนำสารผ่านเครือข่ายจีพีเอส แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำระบบที่พัฒนาขึ้นติดตั้งเข้ากับรถจักรยานยนต์นำสาร ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินประสิทธิภาพของระบบ และสอบถามความพึงพอใจจากนายทหารชั้นประทวน จำนวน 10 นาย ที่ทดลองใช้งานจริง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถติดตามตำแหน่งรถนำสารได้ระบบมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.98) ผู้ทดลองใช้ระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.87)

     The objectives of this research were to 1) develop the message carrier tracking system via GPS network, 2) study the efficiency of the system, and 3) evaluate the satisfaction of the users. The samples were 10 non-commission officers of Medical 4th Battalion, King Naresuan Fort, Phitsanulok. The research tools composed of the message carrier tracking system via GPS network, the evaluation form efficiency and satisfaction. Data was analyzed by mean and standard deviation.
     The research found that the message carrier tracking system via GPS network could follow the carrier effectively. The users satisfied the invention at the “much” level. (mean = 3.87)

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

[1]  อรพิมพ์ มงคลเคหา. (2550). Global Positioning System (GPS) สู่โลกกว้างนวัตกรรม
ในยุคIT. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://sci.bsru.ac.th/sciweb/eMagazine-7-2.php
[2]  ปฐมพงษ์ ฉับพลัน และฐิมาพร เพชรแก้ว. (2553). การประยุกต์ใช้ Google Maps API ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://lexitron.nectec.or.
th/public/NCIT_2010_Bangkok%20_Thailand/index_files/papers/37-p095.pdf
[3]  กฤษณา ชูลิตะพันธ์พงศ์ และวรพันธ์ แก้วพิทยาภรณ์. รายงานการวิจัยการประยุกต์ใช้ Google Map API สำหรับฐานข้อมูลสหกิจศึกษา. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://dspace.rmutk.ac.th/handle/123456789/1565
[4]  วีรชัย สว่างทุกข์.(2557).การใช้ระบบติดตามจีพีเอสแบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับควบคู่สมาร์ตโฟน เพื่อใช้ติดตามรถขนส่ง กรณีศึกษาน้ำดื่มทิพย์เขลางค์.วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1.
[5]  ธงชัย แก้วกิริยา. การควบคุมและติดตามยานพาหนะด้วยระบบ GPS โดยใช้โทรศัพท์มือถือ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://so05.tci-thaijo.org/
index.php/romphruekj/article/view/62935
[6]  วนิดา วาดีเจริญ รังสรรค์ เลิศในสัตย์ และสมบัติ ทีฆทรัพย์.  (2560).  ระเบียบวิธีวิจัย จากแนวคิด ทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติ.  กรุงเทพมหานคร:  ซีเอ็ดยูเคชั่น