เครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน
Automatic mouse trap for alert via smartphone

Main Article Content

ภควัต เจนไพศาล

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง          :  เครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน
คณะผู้จัดทำ    :  นายภควัต เจนไพศาล
                            :  นายรังสิมันต์ เนตรน้อย
สาขาวิชา         :  เทคโนโลยีไฟฟ้า
อาจารย์ที่ปรึกษา  :  ดร.สุธี       เสริมสุข
                                   :  นายฉัตรรงค์ บุญสวน
                                   
:  นายอำพล สีดาดี
                                   : นายณัฐพลธ์ อุดมธนวงค์
ปีการศึกษา     :  2562                  
 
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลมี 2 แบบคือ 1. แบบประเมิน โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ 2. แบบการหาประสิทธิภาพของเครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟนโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการในปีการศึกษา 25 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
          จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน ในส่วนของแบบประเมิน โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 ท่าน ผลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญด้านความเหมาะสมของการออกแบบโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ย 3.86 อยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ของการออกแบบโครงสร้าง แบบวงจรควบคุมและผังการทำงานมีค่าเฉลี่ย 3.33 อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการทำงานของเครื่องดักจับหนูแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟนสามารถทำงานได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด พบว่าประสิทธิภาพความแม่นยำของมอเตอร์เปิด-ปิดประตูดักจับผ่านทางสมาร์ทโฟน แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1)10% 2)30% 3)50% 4)70% และ 5)100%จากการทดลองปรับ 5 ระดับ ระดับละ 10 ครั้ง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยจะได้ค่าความแม่นยำรวมอยู่ที่ 80% อยู่ในระดับมาก และสำหรับการหาประสิทธิภาพเซนเซอร์ดักจับและแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน แบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 1)10% 2)30% 3)50% 4)70% และ 5)100% จากการทดลองปรับ 5 ระดับ ระดับละ 10 ครั้ง โดยการทดสอบหาประสิทธิภาพตัวอย่างเปรียบเทียบวัตถุ 3 แบบดังนี้คือ 1) ลูกปิงปอง 2) ลูกเทนนิส และ3) ลูกบอล ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน  แต่น้ำหนักต่างกัน โดยทำการปล่อยกลุ่มตัวอย่างครั้งละชนิด บนรางลาดเอียงให้เคลื่อนที่เข้าไปยังประตูของเครื่องดักจับหนูอัตโนมัติแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟนที่สร้างขึ้น พบว่าประสิทธิภาพความแม่นยำของเซนเซอร์ดักจับและแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟนเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยจะได้ค่าความแม่นยำรวมอยู่ที่ 83% อยู่ในระดับมาก

ชื่อเรื่อง           :  Automatic mouse trap for alert via smartphone
คณะผู้จัดทำ     Mr. pakawat Janpaisan
                              : Mr. Rangsiman Netnoy
สาขาวิชา           : Electrical technology
อาจารย์ที่ปรึกษา  : Dr. Sutee sermsuk
                      : Mr. Chatnarong Boonsuan
ปีการศึกษา       : 2562                 
Abstract
The objectives of this research were 1.) to design and build an automatic mouse trap for alert via smartphone 2.) to determine the effectiveness of automatic mouse trap for alert via smartphone. The sample consisted of Cluster Random Sampling. The research process was carried out for nine months. The research instruments were composed of Australian Teaching Method, Learning Achievement, Satisfaction Evaluation, an assessment form in examining its suitability and feasibility. Data were analyzed using by means and standard deviation.
The research finding found that the efficiency of Australian Learning Method was 83/83 which was according to the standard criteria 80/80, the students satisfied the Australian Learning Method at the level of “Much” (  = 3.86

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง


บรรณานุกรม

          กาญจนา สุขดี. (2542). ระดับความพึงพอใจคือ. [ระบบออนไลน์].จากเว็บไซต์ : https://www.gotoknow.org/posts/492000. [สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2562]

         ปรีชา สมสอน และคณะ. (2557). การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า. [ระบบออนไลน์]. จากเว็บไซต์ :
https://learninginventions.org/. [สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562]
          ประธาน เนียมน้อย. (2555). โครงงานระบบควบคุมไฟฟ้าไร้สายผ่านเว็บ บราวเซอร์. [ระบบออนไลน์]. จากเว็บไซต์ : http://www.research.rmutt.ac.th/ [สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562
          นางสาวเพ็ญพร วิภาวิทย์ และนายเพลง จิรวัฒน์กุล (2547:บทคัดย่อ). [ระบบออนไลน์]. จากเว็บไซต์ : http://www.bc.msu.ac.th/ [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563]
          ธนิกร สุวรรณพงษ์ และอาทิตย์ จงเจริญ (2548:บทคัดย่อ). [ระบบออนไลน์]. จากเว็บไซต์ :
http://www.bc.msu.ac.th/ [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563]
            ประเสริฐศักดิ์ อู่อรุณ (2559) ระบบรักษาความปลอดภัยบนพื้นฐานระบบสมาร์ทโฮม: กรณีศึกษาการแจ้งเตือนเมื่อตรวจพบวัตถุเคลื่อนไหว[ระบบออนไลน์] จากเว็บไซต์ :
http://wjst.wu.ac.th/index.php/wuresearch/article/view/5213 [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563]