การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา : หมู่บ้านตอนิมิตร หมู่ที่ 9 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
DEVELOPMENT OF VILLAGE FUND ACCOUNTING SYSTEM CASE STUDY : THORNIMIT VILLAGE, VILLAGE NO. 9, RONGKAT SUB-DISTRICT

Main Article Content

อภิสิทธิ์ เขียวสลับ , วริญา นาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน กรณีศึกษา : หมู่บ้านตอนิมิตร หมู่ที่ 9 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน บ้านตอนิมิตร หมู่ที่ 9 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน บ้านตอนิมิตร หมู่ที่ 9 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน บ้านตอนิมิตร หมู่ที่ 9 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประธาน รองประธาน เหรัญญิก และกรรมการผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง ใช้แบบสอบถามสำหรับประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ผู้จัดทำบัญชี ใช้การจดบันทึกไว้ในสมุดรวมเล่มเรื่องเดียวกัน ไม่มีการออกใบเสร็จรับเงิน และการพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน มี 2 ระบบ คือ 1) ระบบบัญชีรายรับ ได้แก่ ระบบรับสมัครสมาชิก ระบบรับเงินค่าหุ้น ระบบรับเงินสัจจะจากสมาชิก ระบบรับชำระเงินกู้จากสมาชิก ระบบรับชำระดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิก ระบบรับค่าปรับ (กรณีชำระหนี้ผิดนัด) ระบบรับเงินบริจาค 2) ระบบบัญชีรายจ่าย ได้แก่ ระบบจ่ายเงินกู้ให้สมาชิก ระบบจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระบบจ่ายเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจต่อระบบการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.23, S.D. = 0.28)
 

The study of causes of development of village fund accounting system case study : thornimit village, village no. 9, rongkat sub-district soongmen district, phrae province. The purposes of this research were 1) to study current conditions and problems of bookkeeping of village funds of Thornimit Village, Village No. 9, Rongkad Sub-district, Soongmen District, Phrae Province, 2) to develop the village fund accounting system of Thornimit Village, Village No. 9, Rongkad Sub-district, Soongmen District, Phrae Province, and 3) to assess satisfaction with the village fund accounting system of Thornimit Village, Village No. 9, Rongkad Sub-district, Soongmen District, Phrae Province. The population used in this research was president Vice president treasurer and  director responsible for bookkeepingThe research instruments were an uninterrupted observation, a structured interview and an unstructured interview, and a questionnaire for assessing satisfaction. The results of the research showed that accountants used note-taking in the same book, no receipt was issued. And there are 2 systems in the development of the village fund accounting system including 1) the income accounting system which consisted of  Membership Application System, Stock Payment System, Member Positive Fund System, Member Loan Payment System, Member Interest Payment System, Fine System (In the event of default payment), and Donation System. 2) the expense accounting system consisted of Member Loan Payment System, Various Expense Payment System, and Asset Purchase Payment System. The results of satisfaction assessment with the village fund accounting system revealed that the overall picture was at a high level (  = 4.23,S.D. = 0.28).

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

เอกสารอ้างอิง
[1] สำนักข่าวอิศรา. (2562). เปิดกรุผลสอบสตง.(28) ตรวจสอบกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สทบ. เสี่ยงล้มเหลว-ขาดศักยภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562, จากเว็บไซต์: https://www.isranews.org/main-investigative/78191-invest-78191.html.
[2] ชัชรินทร์ จุลกะเสวี. (
2553). การศึกษาระบบบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน: กรณีศึกษาอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.  
[3] นภาพร เคลื่อนเพชร. (2557). การพัฒนาระบบบัญชีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรอินทรีย์ ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[4] มานิตย์ มานุษยานนท์. (2551) การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินของกลุ่มผลิต ตำบลท่า ศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[5] สัจวัฒก์ วรโยธา. (
2559). การพัฒนารูปแบบการบัญชีในการบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของ กลุ่มเย็บผ้าฝ้ายพื้นเมือง บ้านกกไอ ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 หน้า 82-89.