การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุมกับข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ กรณีศึกษานางสาวสุนันท์ ใคร้คง บ้านแหลมถ่อน ตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
COMPARISON ON COST AND RETURN BETWEEN THAI PATHUMTHANI FRAGRANT RICE AND RICE BERRY: CASE STUDY OF MISS SUNAN KRAIKONG, BAN LEAM THON, KOI SUNG SUB-DISTRICT, TRON DISTRICT, UTTARADIT PROVINCE

Main Article Content

นางสาววราภรณ์ สุขใส และนางสาวชุติมา มูลมา

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการลงทุนและต้นทุนการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุมกับข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุมกับข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ กรณีศึกษานางสาวสุนันท์ ใคร้คง หมู่บ้านแหลมถ่อน   ตำบลข่อยสูง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มผู้วิจัย ได้ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง      
การวิจัยได้ลงพื้นที่เป้าหมาย สอบถามและทำการวิเคราะห์ผล พบว่า ต้นทุนรวมการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม 57,614.80 บาท ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 6,600 บาท ค่าแรงงานทางตรง 9,840 บาท และค่าใช้จ่ายในการผลิต 41,174.80 บาท และต้นทุนรวมการปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ 56,724.80 บาท ประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง 7,500 บาท ค่าแรงงานทางตรง 9,840 บาท และค่าใช้จ่ายในการผลิต 39,384.80 บาท ซึ่งการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม จำนวน 12 ไร่ ได้ผลผลิตปริมาณข้าวเปลือก 8,000 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วยการผลิต  7.20 บาท การปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ จำนวน 12 ไร่ ได้ผลผลิตปริมาณข้าวเปลือก 7,000 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนต่อหน่วยการผลิต 8.10 บาท โดยการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม สามารถจำหน่ายมีรายได้ 68,000 บาท อัตรากำไรสุทธิ คิดเป็นร้อยละ 15.27 การปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ สามารถจำหน่ายมีรายได้ 91,000 บาท อัตรากำไรสุทธิ คิดเป็นร้อยละ 37.67 แสดงให้เห็นว่า 
การปลูกข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ มีต้นทุนต่อหน่วยการผลิตที่สูงกว่า แต่ได้รับผลกำไรสุทธิที่มากกว่าการปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม การวิจัยนี้ครั้งนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์การวิจัย และสามารถใช้เป็นแนวทางในการปลูกข้าวของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

        This research was conducted to study information, investment and the cost of between Thai Pathumthani Fragrant Rice and and Rice Berry and compare cost and return between Thai Pathumthani Fragrant Rice and and Rice Berry: Case Study of Miss Sunan Kraikong, Ban Laem Thon, Koi Sung Sub-District, Tron District, Uttaradit Province. The researchers designed the research tool in the form of a structured interview and the research was conducted by visiting the sites of the targets and analyzing obtained data.The results revealed that the total cost of Thai Pathumthani Fragrant Rice growing was 57,614.80 baht consisted of direct material cost 6,600 baht, direct labor cost 9,840 baht, and production cost 41,174.80 baht. The total cost of Rice Berry growing was 56,724.80 baht consisted of direct material cost 7,500 baht, direct labor cost 9,840 baht, and production cost 39,384.80 baht. Unit cost of  ThaiPathumthani Fragrant Rice growing was 7.20 baht and unit cost of Rice Berry growing was 8.10 baht.The quantity of paddy obtained from Thai Pathumthani Fragrant Rice growing was 8,000 kilograms per 12 rai that could be distributed in the amount of 68,000 baht with net profit of 15.27%. The quantity of paddy obtained from Rice Berry growing was 7,000 kilograms per 12 rai that could be distributed in the amount of 91,000 baht with net profit of 37.67%. As a result, this research could indicate that Rice Berry growing had higher unit cost but provided higher profit than that of Thai Pathumthani Fragrant Rice growing. As a result, this research met with the objectives of this research and the results could be applied as the guidelines for rice growing of farmers.

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

[1] มูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย). (2551). ปัญหาภาคเกษตรและประเด็นท้าทาย: ข้อสรุปจากเวทีสัมมนาพัฒนา     
           ยุทธศาสตร์เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกระหว่างวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2551 โดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก.             สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562, จากเว็บไซต์:    http://sathai.org/hotissue/030-Agri_Stategy.htm.
[2] จินตนา  สนามชัยสกุล. และคณะ. (2554). รูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ้าทอเพื่อการพึ่งพาตนเอง อย่างยั่งยืน เขตภาคเหนือ                  ตอนล่าง. คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน        
             2562, จากเว็บไซต์: http://organic.dit.go.th/FILE/CONTENT_FILE/256010251109506172369.pdf
[3] เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2555). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
[4] กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (2563). ความหมายของรายได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562,      
          จากเว็บไซต์: https://www.cad.go.th/cadweb_client/ewt_news.php?nid
          =2469&filename=index
[5] นงลักษณ์ จิ๋วจู. 2558. การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวระหว่างพันธุ์ขาวตาแห้งกับพันธุ์
          ไรซ์เบอร์รี่ของเกษตรกร ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562. จาก      
          เว็บไซต์:https://maesot.kpru.ac.th/wp-content/uploads/2017/07/
[6] วาทินี จันทร์ช่วงโชติ. (2557). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกข้าวหอมมะลิ
          105 แบบหว่านกับแบบหว่านและปักดำของเกษตรกร อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ 
          บัณฑิต, มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี