ชุดสาธิตเครื่องวัดระดับน้ำผ่าน netpie freeboard
A water speed level demonstration set via the netpie freeboard

Main Article Content

นาย จักรี ตั้งใจ นาย วรรธนัย พระสนชุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างชุดสาธิตเครื่องวัดรขน้ำผ่าน netpie freeboard 2) เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพชุดสาธิตเครื่องวัดระดับน้ำผ่าน netpie freeboard ทั้งนี้ในการประเมินผลจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนจากหน่วยงานธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีการประเมิน และทดสอบประสิทธิภาพของชุดสาธิตเครื่องวัดรขน้ำผ่าน netpie freeboard เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดสาธิตเครื่องวัดระดับน้ำผ่าน netpie freeboard และแบบทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
           ผลจากการวิจัยพบว่าการออกแบบและสร้างชุดสาธิตเครื่องวัดระดับน้ำผ่าน netpie freeboard ด้านความเหมาะสมโดยส่วนรวมมีค่าเฉลี่ย 4.59 อยู่ในระดับ มากที่สุด ด้านความเป็นไปได้โดยส่วนรวมมีค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับ มากที่สุด
           ผลจากการวิจัยพบว่า การหาประสิทธิภาพของชุดสาธิตเครื่องวัดระดับน้ำผ่าน netpie freeboard เมื่อทำการทดสอบเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ จำนวน 3 ระดับ ระดับละ 5 ครั้ง ผ่านทั้งสิ้นจำนวน 15 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 จากการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำ และเมื่อทำการทดสอบการทำงานปั้มน้ำ จำนวน 3 ระดับ ระดับละ 5 ครั้ง ผ่านทั้งสิ้นจำนวน 15 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 จากการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานของปั้มน้ำ

The objectives of this research were to 1) create a water speed level demonstration set via the netpie freeboard 2) to find the efficiency of the water level demonstration set via the netpie freeboard. The samples for evaluating the efficiency were 5 experts from Bank of Thailand. Data was analyzed by mean, standard deviation and percentage. The research instruments were composed the water speed level demonstration set and an Efficiency test.
          The result of the research showed that 1) the demonstration set wat at the highest level  = 4.59 , 2) the efficiency of the demonstration set via the netpie freeboard was at the highest level  (100 %), when testing 3 levels of water level sensors, 5 times each level, passing 15 times.

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

[1] ษมากร เจริญแพทย์,จีรศักดิ์ ตู้แก้ว. (พ.ศ.2562) เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำด้วย (Ultrasonic Sensor).
               มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ                      
[2] นนทวัฒน์ จิตรค้ำคูณ,อัษฎาวุธ  อู่เงิน. (พ.ศ.2562) การวัดระดับน้ำโดย (Arduino).
               มหาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
[3] ว่าที่ร้อยตรีบุญญฤทธิ์ เมฆสุวรรณ (พ.ศ.2559) เครื่องอุณหภูมิ ความชื้นผ่าน โทรศัพท์มือถือ.
               สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี