ชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT
Humidity Temperature Monitor via IoT website

Main Article Content

นายณัฐวัฒน์ แก้วกวย นายเอกพล คุ้มญาติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT 2) เพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT ทั้งนี้ในการประเมินผลจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนจากหน่วยงานธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีการประเมินและทดสอบประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์ตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT และแบบทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและสร้างชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.42 และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.57 การหาประสิทธิภาพของชุดสาธิตเครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านเว็บไซต์ IoT เมื่อนำเซ็นเซอร์ตรวจสอบอุณหภูมิและเซ็นเซอร์ตรวจสอบความชื้นไปวัดคู่กับเครื่องวัดอุณหภูมิความชื้นที่ผ่าน การสอบเทียบ (Calibration) จำนวนทั้งสิ้น 4 ระดับอุณหภูมิ ทำการทดสอบซ้ำระดับละ 5 ครั้ง ผ่านทั้งสิ้น จำนวน 40 ครั้ง  ค่าอุณหภูมิอยู่ในค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ±0.5 °C ) คิดเป็นร้อยละ 100 ค่าความชื้นอยู่ในค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ±3 %Rh ) คิดเป็นร้อยละ 100 จากการทดสอบประสิทธิภาพในการวัดค่าอุณหภูมิห้องที่ ควบคุมอุณหภูมิความชื้น

The objectives of this research were to 1) create a humidity temperature monitor via IoT website. 2) find the efficiency of a humidity temperature monitor via IoT website. The samples for evaluating the efficiency were 5 experts from the Bank of Thailand. Data was analyzed by mean, standard deviation and percentage.The tool used to find efficiency is an monitoring demonstration set temperature humidity content through the IoT and tests to find efficiency. By using cumulative statistics (x̄) and standard deviation (S.D.)
The results of this research showed that the monitors gained the quality at the “most” level. The monitors could work with the humidity 100 % (Calibration 4 levels, 5 times). The standard deviation of temperature was  ±0.5 °C and   ±3 %Rh for the humidity.

Article Details

ประเภทบทความ
บทความวิจัย

เอกสารอ้างอิง

[1] IoTtweet (2562:ออนไลน์). IoTtweet tutorials. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562]. จาก blog.iottweet. com/th/blog-list-th.php.
[2] จิรธรรม เรืองสุข (2561:บทคัดย่อ). ชุดจำลองการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นผ่านสมาร์ทโฟน วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4
[3] บุญยัง สิงห์เจริญ และสันติ สาแก้ว (2558:บทคัดย่อ). ระบบควบคุมอุณหภมิและความชื้นในโรงเพาะเห็ด.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สุรินทร์.
[4] พีรพงศ์ รอดเทศ และสุวดี พ่วงรอด (2561:เกณฑ์การประเมิน). ชุดควบคุมการทำงานระบบแสงสว่างด้วยโทรศัพท์มือถือผ่านระบบอินเทอร์เน็ต วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3
[5] สหพัฒน์ นาคนฤมิตร และธเนศ โสดา (2561:ผลของการดำเนินงาน). ชุดสาธิตการทำงานของระบบทำความเย็นขนาดใหญ่ (Chiller). วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3
[6] ว่าที่ร้อยตรี บุญญฤทธิ์  เมฆสุวรรณ (2561:ผลของการดำเนินงาน). เครื่องตรวจสอบอุณหภูมิ ความชื้นผ่านโทรศัพท์มือถือ. วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3